top of page

การประกอบสาย (Assembly Hose)

การประกอบสาย สามารถทำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับลักษณะการใช้งาน แต่ก็จะใช้ส่วนประกอบ สองส่วน ซึ่งประกอบไปด้วยปลอก และ หัวสาย โดยที่จะยุบปลอกลงมารัดสายให้ติดแน่นหัวสายอีกทีหนึ่ง

การอัดสายไฮดรอลิค

รูปแบบของการประกอบสาย

แบบเรียบ (UNI - FIT) เป็นการประกอบสายที่ใช้ปลอกแบบมีฟัน โดยใช้เครื่องบีบสาย บีบปลอกลงมากดรัดสายให้ติดแน่นกับหัวสายอีกทีหนึ่ง ส่วนใหญ่จะต้องทำการปอกสายก่อนที่จะประกอบ ดังรูป

การอัดสายไฮดรอลิคแบบเรียบ

แบบปล้อง (UNI - KRIMP) เป็นการประกอบสายที่ใช้ปลอกแบบไม่มีฟัน ซึ่งจะต้องประกอบหัวสายให้ติดกับปลอกก่อน โดยใช้เครื่องบีบสายยุบปลอกลงมาเป็นปล้อง 3 ปล้อง กดรัดสายให้ติดแน่นกับหัวสาย ดังรูป

การอัดสายไฮดรอลิคแบบปล้อง

แบบอิมพีเรียล (ไว้ปลายปลอก) เป็นการประกอบสายใช้ปลอกแบบมีฟันแบบบาง ซึ่งจะต้องประกอบหัวสายให้ติดกับปลอกก่อน โดยใช้เครื่องบีบสายยุบปลอกลงมาเป็นลักษณะตัววี กดรัดสายให้ติดแน่นกับหัวสายดังรูป

การอัดสายไฮดรอลิคแบบอิมพีเรียล (ไว้ปลายปลอก)

การเรียกขนาดท่อ 

โดยปกติการเรียกขนาดท่อ จะเรียกขนาดอ้างอิงตามขนาดรูในของท่อเป็นหลัก ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 ระบบ คือ

1. ระบบเมตริก โดยที่จะมีหน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร ตามมาตรฐาน DIN ของประเทศเยอรมัน ซึ่งจะใช้อักษร "DN" นำหน้า แล้วตามด้วยตัวเลขบอกขนาด โดยที่จะใช้เลขจำนวนเต็มเท่านั้น ไม่มีจุดทศนิยม

ตัวอย่างเช่น

  • ท่อไฮดรอลิคขนาด DN25 หมายถึง ท่อไฮดรอลิคที่มีรูในเท่ากับ 25 มม. (ประมาณ 1 นิ้ว)

  • ท่อไฮดรอลิคขนาด DN20 หมายถึง ท่อไฮดรอลิคที่มีรูในเท่ากับ 20 มม.

2. ระบบวิตเวอต โดยที่จะมีหน่วยวัดเป็น DASH SIZE หรือ DASH NUMBER ซึ่งเป็นหน่วยที่ใช้เฉพาะในงานท่อของประเทศที่ใช้หน่วยวัดเป็นระบบวิตเวอต เช่น ประเทศอังกฤษ, อเมริกา เป็นต้น โดยที่จะกำหนดขนาด 1 นิ้วมีค่าเท่ากับ 16 DASH SIZE หรือ DASH NUMBER และจะใช้เครื่องหมาย (-) แทนคำว่า DASH SIZE หรือ DASH NUMBER

ตัวอย่างเช่น

  • ท่อไฮดรอลิคขนาด -16 หมายถึง ท่อไฮดรอลิคที่มีรูในเท่ากับ 1 นิ้ว (8 หุน)

  • ท่อไฮดรอลิคขนาด -08 หมายถึง ท่อไฮดรอลิคที่มีรูในเท่ากับ 1/2 นิ้ว (4 หุน)

  • ท่อไฮดรอลิคขนาด -04 หมายถึง ท่อไฮดรอลิคที่มีรูในเท่ากับ 1/4 นิ้ว (2 หุน)

ขั้นตอนการสังเกตสาย (HOSE) ที่จะประกอบ

ให้สังเกตดูว่าสายนั้นเป็นขนาดเท่าไหร่, โครงสร้างของชั้นเสริมเป็นแบบใด มีกี่ชั้น ทำจากวัสดุอะไร, ผลิตโดยอ้างอิงตามมาตรฐานใด แรงดันใช้งานอยู่ที่เท่าไหร่ เปลือกนอกเป็นวัสดุอะไร เป็นสายยี่ห้ออะไร

  • ขนาดรูในของท่อเป็นเท่าไร ทำการวัดเพื่อเลือกให้ถูกขนาดตามแบบเดิม ถ้าไม่สามารถวัดรูในได้ ให้ดูค่าแรงดันใช้งานที่อยู่บนสายและวัดความโตนอกของสาย แล้วนำค่าที่วัดได้ ไปเปิดตารางเปรียบเทียบ

  • โครงสร้างของชั้นเสริมแรงเป็นแบบใด แบบถักตะข่าย แบบขดเป็นวง แบบสาน หรือแบบอื่นๆ มีจำนวนทั้งหมดกี่ชั้น 1 ชั้น, 2 ชั้น, 3 ชั้น, 4 ชั้น หรือ 6 ชั้น ทำมาจากวัสดุอะไร เป็นผ้า เทอร์โมพลาสติก ลวดเหล็กสแตนเลส หรือวัสดุอื่นๆ

  • ผลิตขึ้นตามมาตรฐานอะไร เช่น SAE, DIN, JIS หรืออ้างอิงมาตรฐานอื่นๆ

  • แรงดันใช้งานที่พิมพ์อยู่บนตัวสาย อ่านดูว่าแรงดันใช้งานเท่ากับเท่าใด

  • เปลือกนอกทำจากวัสดุอะไร เช่น ยาง พลาสติก ผ้า สแตนเลส หรือวัสดุอื่นๆ

  • สายนั้นมียี่ห้ออะไร ยี่ห้อจะบอกถึงแหล่งที่มาจากประเทศผู้ผลิต ซึ่งจะบอกได้ว่าใช้มาตรฐานใดในการอ้างอิงการผลิต

bottom of page